เฝ้าระวังช่วงน้ำท่วม กับ โรคไข้เลือดออก ที่มากับยุง
ในช่วงน้ำท่วมนี้ โรคที่ต้องเฝ้าระวังและยังเป็นปัญหาสำหรับชาวไทยที่ประสบอุทกภัยเนื้องจาก น้ำขัง และฝนตกชุก และโรคภัยที่มาจากสัตว์มีพิษต่างๆ แต่ที่เลี่ยงยากที่สุดคือ ยุง...พาหะของโรคไข้เลือดออก
ปัญหาที่พบในการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก
เมื่อเด็กเป็นไข้เลือดออก พ่อแม่ ผู้ปกครองจะวิตกกังวลกลัวเด็กจะได้รับอันตราย มักจะขอให้แพทย์รับตัวไว้รักษาในโรงพยายาลซึ่งการดูแลเด็กที่เป็นไข้เลือดออก พ่อแม่ดูแลได้ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่ทำความเข้าใจในการดูแลเด็กให้ถูกต้องดังต่อไปนี้
เมื่อเด็กเป็นไข้เลือดออก พ่อแม่ ผู้ปกครองจะวิตกกังวลกลัวเด็กจะได้รับอันตราย มักจะขอให้แพทย์รับตัวไว้รักษาในโรงพยายาลซึ่งการดูแลเด็กที่เป็นไข้เลือดออก พ่อแม่ดูแลได้ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่ทำความเข้าใจในการดูแลเด็กให้ถูกต้องดังต่อไปนี้
1.เช็ดตัวบ่อยๆ ด้วยผ้าชุบน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบิดหมาด เช็ดบริเวณใบหน้า ลำตัว ซอกคอ รักแร่ แผ่นหลัง และหน้าผาก เช็ดนานประมาณครั้งละ 15 นาที ผู้ป่วยควรสวมเสื้อผ้าที่ไม่หนามากหรือห่มผ้าบางๆ นอนพักผ่อน
2.เมื่อมีไข้สูงหรือปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัวให้กินยาพาราเซตามอลโดยใหัห่างกันได้ ทุก 4-6 ชั่วโมง
3.ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) หรือน้ำผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อย ถ้ามีอาการคลื่นไส้อาเจียนไม่สามารถดื่มน้ำได้ ให้จิบครั้งละน้อยๆ จิบบ่อยๆ ไม่ควรดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว
4.อาหารควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก นมสด อาหารรสไม่จัด ควรงดเว้นอาหารเครื่องดื่มที่มีสีแดง ดำ หรือน้ำตาล
ระยะไข้เลือดออก
มักจะมีไข้สูงอยู่นาน 2-7 วัน การให้ยาลดไข้จะช่วยให้ไข้ลดชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหมดฤทธิ์ยาไข้ก็จะสูงขึ้น การเช็ดตัวลดไข้จะช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น ถ้าผู้ป่วยอยู่ในระยะมีไข้อาการไม่รุนแรง ท่านสามารถดูแลเองได้โดยไม่จำเป็นต้องรับไว้ในโรงพยาบาล
อาการอันตราย
เมื่อผู้ป่วยมีอาการ ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล
1.ซึม อ่อนเพลียมาก ดื่มน้ำและกินอาหารได้น้อยลง
2.กระสับกระส่าย หงุดหงิด
3.คลื่นไส้ อาเจียนตลอดเวลา
4.ปวดท้องมาก
5.มีเลือดออก เช่น เลือดกำเดา อาเจียนหรืออุจจาระเป็นเลือดหรือเป็นสีดำ
6.กระหายน้ำตลอดเวลา
7.ร้องกวนตลอดเวลา(ในเด็กเล็ก)
8.ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำ หรือตัวลายๆ
9.ปัสสาวะน้อยลง หรือ ไม่ถ่ายปัสสาวะเป็นเวลานาน
ข้อระวังระยะช็อก
ระยะช็อก เป็นระยะอันตรายต้องให้แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งพบผู้ป่วยมีอาการซึม อ่อนเพลีย ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำลง ตัวลาย อาจมีอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ แสดงว่าเข้าสู่ระยะช็อก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้สติดี พูดจารู้เรื่องต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที ระหว่างการเดินทางให้พยายามกระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้บ่อยๆ
2.เมื่อมีไข้สูงหรือปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัวให้กินยาพาราเซตามอลโดยใหัห่างกันได้ ทุก 4-6 ชั่วโมง
3.ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) หรือน้ำผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อย ถ้ามีอาการคลื่นไส้อาเจียนไม่สามารถดื่มน้ำได้ ให้จิบครั้งละน้อยๆ จิบบ่อยๆ ไม่ควรดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว
4.อาหารควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก นมสด อาหารรสไม่จัด ควรงดเว้นอาหารเครื่องดื่มที่มีสีแดง ดำ หรือน้ำตาล
ระยะไข้เลือดออก
มักจะมีไข้สูงอยู่นาน 2-7 วัน การให้ยาลดไข้จะช่วยให้ไข้ลดชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหมดฤทธิ์ยาไข้ก็จะสูงขึ้น การเช็ดตัวลดไข้จะช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น ถ้าผู้ป่วยอยู่ในระยะมีไข้อาการไม่รุนแรง ท่านสามารถดูแลเองได้โดยไม่จำเป็นต้องรับไว้ในโรงพยาบาล
อาการอันตราย
เมื่อผู้ป่วยมีอาการ ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล
1.ซึม อ่อนเพลียมาก ดื่มน้ำและกินอาหารได้น้อยลง
2.กระสับกระส่าย หงุดหงิด
3.คลื่นไส้ อาเจียนตลอดเวลา
4.ปวดท้องมาก
5.มีเลือดออก เช่น เลือดกำเดา อาเจียนหรืออุจจาระเป็นเลือดหรือเป็นสีดำ
6.กระหายน้ำตลอดเวลา
7.ร้องกวนตลอดเวลา(ในเด็กเล็ก)
8.ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำ หรือตัวลายๆ
9.ปัสสาวะน้อยลง หรือ ไม่ถ่ายปัสสาวะเป็นเวลานาน
ข้อระวังระยะช็อก
ระยะช็อก เป็นระยะอันตรายต้องให้แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งพบผู้ป่วยมีอาการซึม อ่อนเพลีย ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำลง ตัวลาย อาจมีอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ แสดงว่าเข้าสู่ระยะช็อก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้สติดี พูดจารู้เรื่องต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที ระหว่างการเดินทางให้พยายามกระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้บ่อยๆ
การป้องกันโรคไข้เลือดออก
1.ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ตอนกลางวัน นอนในมุ้งหรือห้องติดมุ้งลวด ไม่เล่นในมุมมืดที่ไม่มีลมพัดผ่าน ในห้องทำงาน ห้องเรียน ควรมีแสงสว่างส่องถึงและมีลมพัดผ่านสะดวก
1.ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ตอนกลางวัน นอนในมุ้งหรือห้องติดมุ้งลวด ไม่เล่นในมุมมืดที่ไม่มีลมพัดผ่าน ในห้องทำงาน ห้องเรียน ควรมีแสงสว่างส่องถึงและมีลมพัดผ่านสะดวก
2.กำจัดยุง ด้วยการพ่นยาฉีดกันยุงในบริเวณมุมอับภายในบ้าน ตู้เสื้อผ้า และบริเวณรอบๆ บ้านทุกสัปดาห์
3.กำจัดลูกน้ำ และควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายไม่ให้มีลูกน้ำในบริเวณบ้านและโรงเรียน เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ทุกสัปดาห์ ภาชนะใส่น้ำในบ้าน ปิดฝาให้มิดชิด ถ้าปิดไม่ได้ให้เปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ จานรองขาตู้กับข้าวใส่เกลือ หรือน้ำส้มสายชู ผงซักฟอก อ่างหรือบ่อเลี้ยงต้นไม้ใส่ปลาหางนกยูงลงไป จองรองกระถางต้นไม้ใส่ทรายลงไปเพื่อดูดซับน้ำส่วนเกิน เศษภาชนะเหลือใช้รอบบ้านเป็นที่ขังน้ำได้ เช่น กระป๋อง ยางรถยนต์ ให้เก็บคว่ำ ฝัง หรือ ทำลาย
อย่าลืมนะครับ จะบริจาคอะไรให้ผู้ประสบภัยจากน้ำท่วมก็ไม่ควรลืม ผลิตภัณฑ์ใช้กันยุงต่างๆ ให้ผู้ประสบภัยด้วยนะครับ ผลิตภัณฑ์ตามท้องตลาดก็มีหลากหลายชนิด เช่น แบบโลชั่นใช้ทา แบบน้ำใช้พ่นตามผิวหนัง แบบจุดไฟใช้จุดกันยุง หรือ แบบเคมีสเปรย์ใช้พ้นทั่วบริเวณก็ได้ครับ โชคดีมีชัย พบกันโพสหน้าสวัสดีครับ