BumQ 4

วิธีตรวจง่ายๆก่อนสายเกินแก้ ตอนที่ 3 การตรวจที่ถูกมองข้าม

วิธีตรวจง่ายๆก่อนสายเกินแก้ ตอนที่ 3
การตรวจที่ถูกมองข้าม
มีวิธีการตรวจง่ายๆ และราคาไม่แพงเพื่อวินิจฉัยโรคไตในระยะต้นโดยใช้แถบตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ เพราะปัสสาวะของทุกคนมีโปรตีนปนอยู่บ้าง การตรวจด้วยวิธีนี้เป็นการวัดโปรตีนซึ่งมีปริมาณสูงกว่าปกติ ผู้เชี่ยวชาญโรคไตส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้วิธีนี้เป็นการตรวจร่างกายประจำปี
วินเซนต์ ชู วัย 19 ได้รับการตรวจร่างกายประจำปีก่อนเดินทางไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หลังเริ่มเรียนได้หนึ่งสัปดาห์ เข่าเกิดอาการบวมและขยายลงไปเรื่อยๆจนถึงเท้าทั้งสองข้าง หมอวินิยฉัยว่าเขาอยู่ในกลุ่มอาการ "เนโฟรติก" ซึ่งเกิดจากเป็นโรคไต
 ชูต้องพักการเรียนหนึ่งปีและย้ายกลับไปอยู่บ้านในรัฐแคลิฟอร์เนีย เขากล่าวว่า "เมื่อยังเป็นวัยรุ่น เราไม่ค่อยรู้หรอกว่าร่างกายไม่ปกติ" อาการของเขาดีขึ้นหลังรักษาด้วยยาและกลับไปเรียนต่อได้ ชูบอกว่า "ถ้าหมอตรวจปัสสาวะก่อนหน้านี้ ก็อาจพบว่าเขาเป็นโรคไต่ก่อนที่อาการจะเกิดขึ้น"

ชอน เอลเลียต ศูนย์หน้าทีมซานอันโทนิโอสเปอร์ของเอ็นบีเอ พบว่าตนเองป่วยเป็นโรคไตจากการตรวจร่างกายตามปกติ ในปีก่อนหน้านี้ เอลเลียต ทำให้แฟนๆบาสเกตบอลประหลาดใจซ้ำสอง เรื่องแรกคือการชูตลูกสำคัญที่ทำให้ทีมเป็นฝ่ายชนะในรอบชิงชนะเลิศ ต่อมาไม่นาน หลังทีมครองแชมป์เอ็นบีเอ เอลเลียตก็ประกาศว่าต้องผ่าตัดเปลี่ยนไต

โนเอล น้องชายของเขาสละไตให้ เอลเลียตจึงได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตในเวลาต่อมา เขารู้สึกขอบคุณและกล่าวว่า "คิดขึ้นมาทีไร ผมอดรู้สึกไม่ได้ว่า น้องชายช่างดีต่อผมเหลือเกิน" เมื่อหายเป็นปกติหลังผ่าตัด เขาเข้าร่วมงานกับทีมนักวิจารณ์กีฬาของสถานีโทรทัศน์และมีโครงการจะกลับไปเล่นบาสเกตบอลอาชีพอีกในฤดูการแข่งขันหน้า ทั้งยังตกลงใจเป็นโฆษกให้มูลนิธิโรคไตแห่งสหรัฐฯอีกด้วย


(อ่านต่อที่ " วิธีตรวจง่ายๆก่อนสายเกินแก้ ตอนที่ 4  " )