ประโยชน์น่าทึ่งของแอสไพริน
แอสไพรินอาจเป็นยาที่คนรู้จักมากที่สุดในโลกและสรรพคุณไม่ได้จำกัดเพียงการรักษาอาการเจ็บปวด การศึกษาใหม่ๆพบว่าแอสไพรินสามารถต่อสู่โรคร้ายแรงได้หลายชนิด "ปัจจุบันพบว่ายานี้มีผลต่อสุขภาพหลายด้าน ดิฉันจึงแนะนำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ไม่แพ้แอสไพรินและไม่มีปัญหาเรื่องเลือดออกกินในปริมาณต่ำ" แพทย์หญิงเดบรา จูเดลสัน ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ สถาบันหัวใจสตรีในรัฐแคลิฟอร์เนียกล่าว
ต่อไปนี้คือโรคและอาการสำคัญบางอย่างที่สามารถป้องกันได้ด้วยแอสไพรินหรือยาที่มีฤทธิ์เหมือนแอสไพริน เช่น ยาในกลุ่มซาลิซิลเลท (ยาลดอักเสบที่ฤทธิ์เหมือนแอสไพริน เช่น เพนนิลบูตาโซนและอิมโพรเฟน ส่วนใหญ่ใช้แก้ปวดข้อ ไม่มีฤทธิ์ต่อระบบอื่นเหมือนแอสไพริน)
โรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อม
"งานวิจัยในอดีตที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าการอับเสบในสมองมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม" นายแพทย์ริชาร์ด บี. ลิปทัน ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชระบบประสาทและระบาดวิทยาแห่งวิทยาลัยแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ในนครนิวยอร์กกล่าวว่า ผลการศึกษาที่บ่งชี้ว่า ผู้ได้รับยาแก้อาการอักเสบเป็นประจำในการรักษาโรคอื่นๆเช่นข้ออักเสบหรือเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดมักไม่ค่อยเป็นโรคสมองเสื่อม
"ผู้สูงอายุที่ได้รับแอสไพรินมีอัตราการเป็นโรคความจำเสื่อมลดลง" นายแพทย์ชาลส์ เอช. เฮนเนเกนส์แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยไมอามี กล่าว "ดังนั้นแอสไพรินอาจไม่ได้มีผลเฉพาะโรคสมองเสื่อมเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อผู้ป่วยจำนวนมากที่ความจำเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น"
โรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อม
"งานวิจัยในอดีตที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าการอับเสบในสมองมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม" นายแพทย์ริชาร์ด บี. ลิปทัน ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชระบบประสาทและระบาดวิทยาแห่งวิทยาลัยแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ในนครนิวยอร์กกล่าวว่า ผลการศึกษาที่บ่งชี้ว่า ผู้ได้รับยาแก้อาการอักเสบเป็นประจำในการรักษาโรคอื่นๆเช่นข้ออักเสบหรือเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดมักไม่ค่อยเป็นโรคสมองเสื่อม
"ผู้สูงอายุที่ได้รับแอสไพรินมีอัตราการเป็นโรคความจำเสื่อมลดลง" นายแพทย์ชาลส์ เอช. เฮนเนเกนส์แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยไมอามี กล่าว "ดังนั้นแอสไพรินอาจไม่ได้มีผลเฉพาะโรคสมองเสื่อมเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อผู้ป่วยจำนวนมากที่ความจำเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น"
โรคหัวใจที่มีเบาหวานร่วมด้วย
นักวิจัยพบข้อมูลว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการผลิตสารที่ทำให้เกล็ดเลือดรวมตัวเป็นก้อนที่เรียกว่าทรอมบอกเซน (Thromboxane) เพิ่มขึ้น และผลการปฏิกิริยานี้ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าผู้ไม่ได้เป็นเบาหวานสองถึงสี่เท่า
แอสไพรินช่วยป้องกันโรคหัวใจที่เกิดร่วมกับโรคเบาหวานโดยมีส่วนขัดขวางการผลิตทรอมบอกเซน การศึกษาครั้งสำคัญซึ่งควบคุมโดยหมอเฮนเนเกนส์พบว่าผู้ได้รับแอสไพรินสามารถลดภาวะหัวใจขาดเลือดได้ถึงร้อยละ 44 และลดได้มากขึ้นในผู้ที่เป็นเบาหวาน สมาคมโรคเบาหวานสหรัฐฯแนะให้ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานกว่า 14 ล้านคนใช้แอสไพรินในขนาดต่ำเพื่อลดอุบัติการของโรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคมะเร็ง
ความสนใจที่จะใช้แอสไพรินป้องกันโรคมะเร็งเริ่มจริงจังขึ้นในช่วงสิบปีที่ผ่านมา "มีการทดลองที่บ่งชี้ว่า ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ซึ่งรวมถึงแอสไพรินป้องกันการเกิดมะเร็งได้หลายชนิดรวมทั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร และกระเพาะอาหารด้วย" นายแพทย์ไมเคิล ทัน รองประธานด้วยวิจัยการระบาดและเฝ้าระวังของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐฯ กล่าว
ที่คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มีการศึกษาสุขภาพของพยาบาลในระยะยาว พบว่า อุบัติการของมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักลดลงถึงร้อยละ 30 ในผู้ที่ใช้แอสไพรินสม่ำเสมอเป็นเวลาสิบถึง 19 ปีและลดลงร้อยละ 44 ในผู้ที่ใช้ยานี้สม่ำเสมอนานกว่า 20 ปี
ภาวะหัวใจพิบัติหรือขาดเลือด
คนจำนวนมากรู้ว่าองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯหรือเอฟดีเอแนะให้ใช้แอสไพรินป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ แต่น้อยคนจะรู้ว่ายานี้สามารถช่วยได้เมื่อเริ่มมีอาการ ในปี 2541 เอฟดีเอแนะให้ผู้ที่เริ่มมีอาการหัวใจขาดเลือดกินแอสไพรินทันที จากการศึกษาผู้ป่วยทั่วโลกจำนวน 17,187 ราย ซึ่งควบคุมโดยหมอเฮนเนเกนส์พบว่า การกินแอสไพรินภายใน 24 ชั่วโมงเมื่อมีอาการหัวใจขาดเลือดจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ร้อยละ 23
หมอจูเดลสันเป็นคนแรกที่พบประโยชน์ของยานี้ ขณะอยู่บนเครื่องบิน ผู้โดยสารคนหนึ่งเกิดอาการหน้าซีด เจ็บหน้าอก และหายใจไม่ออก หมอจึงให้แอสไพรินสองเม็ดทันที ครู่ต่อมาผู้ป่วยก็หายปวด พร้อมทั้งหายใจดีขึ้นและหน้าหายซีด
เมื่อส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล แพทย์พบว่าเส้นเลือดหัวใจเส้นหนึ่งอุดตันถึงร้อยละ 95 หมอจูเดลสันกล่าวว่า "แพทย์แก้ไขการอุดตันของเส้นเลือดและให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้หลังจากนั้นสองวัน" แอสไพรินทำให้ลิ่มเลือดที่อุดตันอยู่ในเส้นเลือดสลายตัว
หมอจูเดลสันแนะว่า "ถ้าคุณคิดว่ากำลังมีอาการหัวใจขาดเลือด ให้เคี้ยวแอสไพรินสักสองเม็ด การเคี้ยวจะทำให้ยาดูดซึมได้เร็วกว่าการกลืน ในภาวะหัวใจขาดเลือดเวลาแต่ละนาทีมีความสำคัญต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ยิ่งรอนาน กล้ามเนื้อจะยิ่งถูกทำลายมากขึ้น"
อาการหูหนวกที่เกิดจากยาปฏิชีวนะ
ขณะเดียวกัน หมอชาร์ตกล่าวว่า "องค์การอนามัยโลก จัดให้ยานี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการหูหนวกชนิดที่ป้องกันได้" ยานี้สามารถรวมตัวกับธาตุเหล็กในร่างกายเป็นอนุมูลอิสระซึ่งเป็นโมเลกุลที่สามารถทำลายเซลล์ รวมทั้งเซลล์ขนจำนวนหลายพันที่อยู่ในหู เมื่อเซลล์ขนถูกทำลาย หูชั้นในจะไม่สามารถรับคลื่นเสียง ทำให้เกิดหูหนวกถาวร การศึกษาขั้นต้นในสัตว์ทดลองพบว่าตัวยาซาลิซิลเลทซึ่งเกิดจากการสลายตัวของแอสไพรินในร่างกายสามารถป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระที่ทำให้อาการหูหนวกจากยาปฏิชีวนะ
หมอจูเดลสันแนะว่า "ถ้าคุณคิดว่ากำลังมีอาการหัวใจขาดเลือด ให้เคี้ยวแอสไพรินสักสองเม็ด การเคี้ยวจะทำให้ยาดูดซึมได้เร็วกว่าการกลืน ในภาวะหัวใจขาดเลือดเวลาแต่ละนาทีมีความสำคัญต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ยิ่งรอนาน กล้ามเนื้อจะยิ่งถูกทำลายมากขึ้น"
อาการหูหนวกที่เกิดจากยาปฏิชีวนะ
มีงานวิจัยที่บ่งชี้ว่าอาการหูหนวกซึ่งเกิดจากยาปฎิชีวนะที่ใช้บ่อย ได้แก่ อะมิโนกลัยโคไซด์ (Aminoglycosides) สามารถป้องกันได้โดยการให้แอสไพรินร่วมด้วย "ยาปฏิชีวนะนี้เป็นที่นิยมทั่วโลก เราประเมินว่าร้อยละสิบของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลได้รับยาอะมิโนกลัยโคไซด์" โจเคน ชาร์ต ศาสตราจารย์ชีวเคมีแห่งคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิชิแกน อธิบาย
ขณะเดียวกัน หมอชาร์ตกล่าวว่า "องค์การอนามัยโลก จัดให้ยานี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการหูหนวกชนิดที่ป้องกันได้" ยานี้สามารถรวมตัวกับธาตุเหล็กในร่างกายเป็นอนุมูลอิสระซึ่งเป็นโมเลกุลที่สามารถทำลายเซลล์ รวมทั้งเซลล์ขนจำนวนหลายพันที่อยู่ในหู เมื่อเซลล์ขนถูกทำลาย หูชั้นในจะไม่สามารถรับคลื่นเสียง ทำให้เกิดหูหนวกถาวร การศึกษาขั้นต้นในสัตว์ทดลองพบว่าตัวยาซาลิซิลเลทซึ่งเกิดจากการสลายตัวของแอสไพรินในร่างกายสามารถป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระที่ทำให้อาการหูหนวกจากยาปฏิชีวนะ
ก่อนใช้ยาแอสไพรินเป็นประจำทุกวันควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว แม้แพทย์จะเห็นประโยชน์ของการใช้แอสไพริน แต่จะเตือนว่าการใช้แอสไพรินในบางคนอาจมีความเสี่ยงเนื่องจากทำให้เลือดใส ขัดขวางการเกิดลิ่มเลือด มีผลทำให้เลือดออกมากขึ้น ดังนั้น การใช้แอสไพรินเป็นประจำอาจไม่เหมาะในผู้ที่เป็นโรคระบบย่อยอาหารเลือดออกในกระเพาะ ลำไส้ หรือมีปัญหาเลือดออกอย่างอื่น ผู้เตรียมตัวผ่าตัดแม้เป็นการผ่าเล็กน้อย หากใช้แอสไพรินอยู่ก็ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ และไม่แนะนำให้ใช้แอสไพรินในเด็กและวัยรุ่น เพราะอาจทำให้เกิดกลุ่มอาการรายส์ (Reye's) ซึ่งเป็นโรคในเด็กที่พบไม่บ่อยแต่เป็นอันตราย
อย่างไรก็ดี แอสไพรินอาจเป็นยาป้องกันโรคร้ายสำหรับคนส่วนใหญ่อย่างที่หมอเฮนเนเกนส์เรียกว่า "ยาวิเศษแห่งศตวรรษที่ 21"
อย่างไรก็ดี แอสไพรินอาจเป็นยาป้องกันโรคร้ายสำหรับคนส่วนใหญ่อย่างที่หมอเฮนเนเกนส์เรียกว่า "ยาวิเศษแห่งศตวรรษที่ 21"